วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

หมีขั้วโลกจ๋า...



คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ภาวะโลกร้อนที่คุกคามโลกหนักข้อขึ้นทุกวัน นอกจากจะส่งผลต่อมนุษย์ ผู้เป็นต้นเหตุความเลวร้าย ยังส่งผลต่อสัตว์โลกผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ โดยบรรดาสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มที่โดนแรกๆ คือ สัตว์ที่อาศัยแถบขั้วโลก เช่น เพนกวิน สิงโตทะเล และหมีขั้วโลก เพราะความร้อนเร่งให้ภูเขาน้ำแข็งละลายกรมสำรวจธรณีวิทยา สหรัฐอเมริกา รายงานว่า ตามแบบจำลองคอมพิวเตอร์พยากรณ์ว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้น้ำแข็งทวีปอาร์กติกละลายเร็วขึ้น และทำให้หมีขั้วโลกลดลง 2 ใน 3 ในอีก 50 ปีข้างหน้าดร.สตีฟ แอมสตรัมป์ ผู้นำวิจัย กล่าวว่า ในสิ้นศตวรรษนี้หมีขั้วโลกจะเหลือเฉพาะในหมู่เกาะแคนาดาในทวีปอาร์กติก และตามชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์เท่านั้น โดยราวปีพ.ศ.2593 หมีขั้วโลกในอาร์กติกตลอดแนวชายฝั่งอลาสกาและรัสเซียจะหายไปราว 16,000 ตัว และจะสูญพันธุ์ไปเลยในปีพ.ศ.2643 เนื่องจากหมีเด็กไม่สามารถอยู่รอดถึงตัวเต็มวัย และหมีตัวเมียตกลูกไม่ได้รายงานดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เพื่อตัดสินใจว่า หมีขั้วโลกสมควรจะจัดเป็นสัตว์สงวนหรือไม่ ในการประชุมในเดือนม.ค. ปีพ.ศ.2551หน้า 22

หมีขาวกับหมา . . .

ภาพจากประเทศแคนาดา หมีขาวโดยปกติเป็นสัตว์รักสงบ ชอบอยู่โดดเดียว สันโดษ
ดุร้าย ไม่น่าเชื่อว่าหมีขาวตัวนี้ทุกๆคืนเค๊าจะมาเล่นกับหมาลากรถเลื่อนทุกคืน เจ้าของหมา
เค๊าแอบถ่ายรูปไว้ ดูภาพความเป็นเพื่อนระหว่างหมีกับหมากันเลย





หมีขาว ลูกหมีตัวน้อยแรกเกิด . . . น่ารักม๊ากกมาก






หมีขาวขั้วโลกเหนือและเพนกวินแห่งขั้วโลกใต้…ในชะตากรรมเดียวกัน

โครงการปลุกเร้าจิตสำนึกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยการพานักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน และครูอาจารย์ ล่องเรือไปยังขั้วโลกเหนือ
ให้รับรู้ว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อเราอย่างไรบ้าง
ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยม
ในการใช้บทบาทหน้าที่ของตนเองส่งผ่านเรื่องราวไปยังคนรอบข้าง

Mr.Quentin Cooper หนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์สุดเจ๋งจากการร่วมเดินทางไปยังขั้วโลกเหนือเล่าโน่นเล่านี่ให้ฟังมากมาย
เรารับรู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่า การเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิชั้นบรรยากาศโลก
กำลังทำให้หมีขั้วโลกตัวโตที่มีขนขาวหนาต้องเดือดร้อน
แน่นอนว่า…การเพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลพวงจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

หมีขาวใช้ชีวิตอยู่ที่ขั้วโลกเหนืออย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ว่า…
พื้นที่หากินของมันหดแคบลง โลกที่ร้อนขึ้นทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยธรรมชาติแล้วพวกมันไม่สามารถว่ายน้ำได้ต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน
จึงจำเป็นต้องแวะพักเหนื่อยตามแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่กระจัดกระจาย
แผ่นน้ำแข็งที่เหลือน้อย ทำให้พวกมันใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก
…ถ้าแผ่นน้ำแข็งละลายหมดเกลี้ยง หมีขาวจะอยู่รอดได้อย่างไร…

แต่ข้อมูลใหม่ที่เราเพิ่งรู้จากปากของ Mr. Cooper ก็คือ
ขยะจำพวกพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล มันแตกสลายเป็นละอองพลาสติกตามวันเวลา
และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ส่งต่อไปยังนักล่าที่ยืนอยู่บนสุดของพีระมิด
ปลาตัวเล็ก—> ปลาตัวใหญ่—> สิงโตทะเล แมวน้ำ—> หมีขาว
หมีขาวรับสารแปลกปลอมอย่างพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินตามลำดับขั้น
กระทั่งทำให้หมีขาวจำนวนไม่น้อยมีสองเพศในตัวเดียว!!!


บางห้วงจังหวะที่จับใจความจากภาษาต่างด้าวไม่ได้
เราครุ่นคิดถึงคาราวานเพนกวินที่ขั้วโลกใต้
พวกมันก็โดนสภาวะโลกร้อนเล่นงานหนักไม่แพ้หมีขาว
ใครที่ดูรายการปฐพีชีวิตทางช่อง ๙ เมื่อปลายเดือนมกราคม
หรือเคยชมภาพยนตร์สารคดี “The March of Penguins”
ที่มีนกเพนกวินจักรพรรดินับร้อยนับพันเป็นนักแสดง
คงพอนึกออกถึงการอยู่รอดในสภาพอากาศที่โหดร้าย
(ถ้ายังไม่ได้ดู และอยากหา DVD เรื่องนี้มาดูด้วยตนเอง ขอให้หยุดอ่านที่บรรทัดนี้
เพราะข้อเขียนส่วนต่อไปมีการเปิดเผยถึงเนื้อหาของภาพยนตร์)

เพนกวินจักรพรรดิเป็นสายพันธุ์เพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่ตัวโตไม่ได้หมายความว่าจะอยู่รอดในธรรมชาติได้ง่ายดาย
ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง พวกมันต้องฝ่าฟันอุปสรรคยากเข็ญนานัปการ

เรื่องราวธรรมชาตินี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาเป็นเวลาหลายพันปี
แต่มนุษย์เพิ่งค้นพบความอัศจรรย์นี้เมื่อต้นศตวรษที่ ๒๐
และภาพยนตร์ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ๖ ปีที่แล้วก็ถ่ายทอดเหตุการณ์ที่มีส่วนผสมของความรัก ความน่าทึ่ง กำลังใจ ความกล้าหาญ และการผจญภัยของเหล่าพ่อแม่เพนกวินได้อย่างลงตัว
โดยให้ทีมงานถ่ายทำ ๔ คนเข้าไปฝังตัวอยู่ที่แอนตาร์กติกนาน ๑๔ เดือน !!!

เมื่อฤดูร้อนสิ้นสุดลงและฤดูหนาวกำลังจะเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
เพนกวินจักพรรดิจากทุกสารทิศจะว่ายน้ำมายังขั้วโลกใต้…บ้านเกิดของพวกมัน…
ต้นเดือนมีนาคม สัญชาตญาณสั่งให้พวกมันละทิ้งทะเล
และพุ่งตัวผ่านรอยแยกของน้ำแข็งขึ้นมาเพื่อออกเดินทางครั้งใหญ่
จากสุดขอบทะเลน้ำแข็งเข้าสู่แผ่นดินตอนใน หรือ “โอเอม็อก” (Oamok)
–ดินแดนที่เหมาะต่อการผสมพันธุ์–
ฤดูหนาวที่นั่นอุณหภูมิลดต่ำเสียจนไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดเข้ามารบกวนการฟักไข่
อีกทั้งพื้นน้ำแข็งก็หนาพอที่จะไม่แยกเป็นส่วนๆ ในวันเริ่มต้นของฤดูร้อนซึ่งลูกเพนกวินยังเล็กอยู่

คาราวานเพนกวินเดินบ้าง ไถตัวไปบนพื้นน้ำแข็งบ้าง รวมระยะทางกว่า ๒๐๐ กิโลเมตร
แต่ละย่างก้าวเล็กๆ มุ่งสู่สมรภูมิที่ต้องต่อสู้กับความหนาวระดับ -๖๕ องศาเซลเซียส
ด้วยเหตุที่ภูมิประเทศขาวโพลนกว้างโล่งไม่มีตำแหน่งอ้างอิงใดๆ
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว จึงเป็นเข็มทิศสำคัญสำหรับสัตว์ปีกหุ่นอ้วนกลม
แม้เนินน้ำแข็งจะเปลี่ยนแปลงทุกปี พวกมันยังสามารถเดินไปถึงจุดหมายเดิมได้อย่างแม่นยำ

หลังจากฝูงเพนกวินรวมตัวพร้อมหน้า มันจะเปล่งเสียงร้องหาคู่
เมื่อเจอแล้วเพนกวินสองตัวจะยืนนิ่งอยู่เคียงกัน
น่าแปลกว่าท่ามกลางการเปล่งเสียงอันอลหม่านนั้น
เพนกวินสามารถจดจำเสียงของคู่ตัวเองได้ถูกต้อง

และเนื่องจากจำนวนเพนกวินตัวผู้นั้นน้อยกว่าตัวเมีย
ช่วงแรกของการจับคู่จึงเกิดศึกชิงหนุ่มบ้าง
แต่สุดท้ายแล้วตัวเมียที่ไร้คู่จะต้องเดินกลับไปสู่ทะเล
ไม่มีประโยชน์ที่จะสู้กับฤดูหนาวอันโหดร้ายโดยไม่มีชีวิตของเพนกวินน้อยเป็นสิ่งตอบแทน

ค่ำคืนฮันนีมูนผ่านไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม
แม่เพนกวินจะออกไข่เพียง ๑ ฟอง และซ่อนมันไว้ในช่องว่างใต้พุง
–กระเป๋าหน้าท้องที่คอยสร้างความอบอุ่นให้ไข่—
นาฬิกาของชีวิตใหม่เริ่มต้นแล้ว

ความระทึกใจมาถึงเมื่อแม่เพนกวินต้องส่งมอบไข่ให้พ่อเพนกวินรับผิดชอบ
มันไม่มีนิ้วที่จะหยิบจับได้อย่างง่ายดาย ฟองไข่ก็แสนบอบบาง พื้นน้ำแข็งก็ไม่ราบเรียบ
อีกทั้งความหนาวเย็นยังคอยจ้องปลิดชีวิตน้อยๆ ขั้นตอนนี้จึงต้องรวดเร็วและแม่นยำ
แม่เพนกวินปล่อยไข่ลงบนพื้นพร้อมกับเดินถอยห่างออกมา
พ่อเพนกวินต้องใช้จงอยปากดันไข่ให้ขึ้นมาอยู่บนหลังเท้าของตน
ช้าแม้เพียงเสี้ยวนาทีอุณหภูมิพื้นน้ำแข็งจะถ่ายทอดสู่ไข่จนแข็งตัวและแตกร้าว

หลังการส่งมอบไข่ แม่เพนกวินจะมุ่งหน้าสู่ทะเล
ใช้เวลา ๒-๓ สัปดาห์ในการเพิ่มพลังงานให้ตนเองและกักตุนอาหารมาป้อนลูกน้อย
ขณะที่พ่อเพนกวินต้องยืนรักษาไข่ไว้ใต้พุงเหนือหลังเท้าประมาณ ๖๐ วันจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
ที่ยากกว่านั้นคือทุกตัวต้องร่วมกันฝ่าพายุหิมะที่ร้ายกาจไปให้ได้พร้อมกับรักษาชีวิตน้อยๆ
พวกมันยืนเบียดต้านทานลมที่พัดแรงเร็วประมาณ ๑๖๑-๒๔๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แม่ที่กินอิ่มต้องรีบเดินทางกลับมายังโอเอม็อกภายใน ๔๘ ชั่วโมงหลังจากที่ลูกเพนกวินเกิด
เจ้าตัวเล็กมีพลังงานสะสมน้อยและอ่อนแอเหลือเกิน
ถ้าช้า…พ่อเพนกวินซึ่งไม่ได้กินอะไรมานานกว่า ๔ เดือนจะทิ้งลูกและเดินกลับไปยังทะเลก่อนที่ตัวเองจะหมดแรง

ในทางกลับกันถ้าแม่เพนกวินมาทันเวลาและพ่อลูกรอดพายุหิมะมาได้อย่างปลอดภัย
เธอจะมีโอกาสป้อนอาหารมื้อแรกและปล่อยให้พ่อเดินไปสู่ทะเลบ้าง
สลับกันออกไปหาอาหารมาเลี้ยงลูก
จนถึงเวลาที่เจ้าตัวเล็กพร้อมจะสัมผัสน้ำทะเลแรกของชีวิตในช่วงฤดูร้อน
เมื่อถึงวันนั้นพ่อและแม่เพนกวินจะแยกจากกัน
เพื่อรอการสืบทอดสายพันธุ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในฤดูหนาวครั้งต่อไป

ส่วนลูกๆ รวมฝูงกันลงทะเลเพื่อเผชิญโลกใหม่ที่น่าตื่นเต้น
อีก ๔ ปีข้างหน้าลูกเพนกวินจะโตเต็มวัยและกลับมาปฏิบัติภารกิจอย่างที่พ่อแม่ของมันทำ

ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายเร็วกว่าปกติ
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ลูกเพนกวินจักรพรรดิจำนวนมากต้องจบชีวิตลง
เพราะยังไม่โตพอที่จะว่ายออกสู่ทะเลในฤดูร้อนที่มาถึงก่อนกำหนด

โศกนาฏกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ามนุษย์ยังไม่ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง
…ลำพังการสร้างชีวิตใหม่ของเพนกวินจักรพรรดิก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว
คุณยังจะใจร้ายซ้ำเติมมันได้ลงคอเชียวหรือ…

หมีขั้วโลก


หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ประเภทหมีชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ที่มีอากาศหนาวหรือแถบใกล้ขั้วโลกหมีชนิดนี้สามารถพบเห็นได้มากที่สุดที่บนิเวณขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้เพราะมีอากาศหนาวเย็นหมีชนิดนี้มีลักษณะมีขนหนาสีขาวทำให้สามารถทนอากาศเย็นได้มากมีลำตัวที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากหมีขั้วโลกมีฉายาว่า นักล่าแห่งดินแดนขั้วโลก เพราะมันเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นนักล่าที่มีความ
ว่องไวปานกลาง หมีขั้วโลกจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและธรรมชาติได้ดีถึงแม้หมีขั้วโลกจะตัวใหญ่และน้ำหนักมากแต่มันก็มีการปรับสภาพตามลักษณะธรรมชาติจึงทำให้มันสามารถเดินและยืนบนแผ่นน้ำแข็งบางๆได้สบาย หมีขั้วโลกจะกินปลาและแมวน้ำ
เป็นอาหารในการหาอาหารมันจะไปยืนอยู่บนหลุมน้ำแข็งที่ลึกลงไปถึงในน้ำมันจะมีสัญชาตญาณที่สามารถคาดคะเนเวลาที่ปลาหรือแมวน้ำจะว่ายเข้ามาใกล้ในบริเวณที่มือมันสามารถเอื้อมถึงได้เมื่อมีปลาหรือแมวน้ำว่ายเข้ามาใกล้แล้วมันจะใช้มือตวัดเอาปลาขึ้นมาแล้วจัดการกินแต่เนื่องจากแมวน้ำมีทั้งตัวใหญ่และตัวเล็กจึงทำให้มันไม่สามารถที่จะจับแมวน้ำได้ตลอดมันจึงต้องกินแต่แมวน้ำตัวเล็กเท่านั้น หมีขั้วโลกนั้นตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 775-1500ปอนนด์ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 330-500ปอนด์ หมีขั้วโลกจะมีการออกลูกเป็นตัวในการผสมพันธุ์เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะหาตัวเมีย ตัวเมียก็จะหาตัวผู้เมื่อหากันเจอตัวผู้ก็จะผสมพันธุ์เมื่อผสมพันธุ์
เสร็จตัวผู้ก็จะเดินหนีไป และเมื่อตัวเมียให้กำเนิดลูกแล้วตัวเมียก็จะเลี้ยงลูกของมันจนโตและลูกของมันเมื่อโตแล้วก็จะแยกออกไปใช้ชีวิตอยู่เอง แต่หมีขั้วโลกนั้นจะสามารถกินกันเองได้(ถ้าหากมันเจอกันเข้า )ถ้าหากเป็นตัวผู้กับตัวผู้หรือเมีย-เมียมันก็จะสู้กันตัวไหนแพ้ก็จะตายแล้วถูกกินแต่ในกรณีที่เป็นคนละเพศกันมันก็จะสู้กันตัวไหนแพ้ก็โดนกินถ้าหากตัวเมียนั้นมีลูกติดมาด้วยมันก็จะกินตัวลูกเช่นกันหมีขั้วโลกตัวผู้จะไม่สนว่าลูกตัวนั้นจะเป็นลูกของตน หมีขั้วโลกจะมีที่อยู่ไม่เป็นที่หรือไปเรื่อยๆ บริเวณที่พบมากที่สุด
คือแคนาดา ขั้วโลกเหนือ-ใต้ อาร์กติก หมีขั้วโลกปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 22000-27000
มีขั้วโลกเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่กำลังถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมและมนุษย์อยู่ หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่หายากและเนื้อทำเป็นอาหารได้ส่วนหนังมาทำเป็นเสื้อที่ขายได้ราคาแพงมากคนจึงมีการล่าหมีขั้วโลกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้หมีขั้วโลกใกล้สูญพันธุ์จึงมีการออกกฎหมายคุ้มครองขึ้นแต่ปัจจุบันส่วนน้อยก็ยังมีการล่าอยู่เช่นกันและผลกระทบจากภัยธรรมชาติคือสภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายจึงทำให้หมีขั้วโลกจมน้ำตายและไม่มีที่อยู่ซึ่งปรากฎการนี้เกิดจากที่มนุษย์ปล่อยก๊าซพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไปจึงทำให้ก๊าซเหล่านั้นไปทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนถูกทำลายทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาสู่โลกได้ตรงและเต็มที่จึงทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบกับทุกสิ่งมีชีวิตทั่วโลก จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นถ้าหากทุกคนไม้ช่วยกันคุกคามหมีขั้วโลกในอนาคตเราอาจจะไม่เห็นสัตว์ชนิดนี้อีแล้วก็ได้

แพนด้ายักษ์ หมีที่น่ารักที่สุดในโลก แล้วรู้ไหม ทำไมมันถึงมีสีดำ-ขาว

ในบันทึกโบราณอายุกว่าสามพันปีของจีนโบราณ ระบุว่ามีสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง นิสัยรักสงบ หน้าแป้น ขนขาว มีสีดำสนิทเฉพาะส่วนใบหู เบ้าตา แขน ขา ในชื่อ "พี๋ซิ่ว" แปลว่า "หนังสัตว์ ที่มีแขน" แต่ทั่วไปรู้จักกันในชื่อ "โสวฺงมาว" แปลว่า "หมีแมว" หรือ "มาวโสวฺง" แปลว่า "แมวหมี" และมีตำนานเกี่ยวกับพื้นที่ที่มันอาศัยแถบเฉิงตู จิวไจ้โกว มณฑลเสฉวน

ในตำนานของชาว "เชียง" ที่ตั้งรกรากอยู่ตามหุบเขาภาคตะวันตก เล่ากันมาตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีก่อนว่า " ในหุบเขาท่ามกลางป่าปลายเทือกเขาโฉลฺงไหล มีคนเลี้ยงแกะอาศัยอยู่ครอบครัวหนึ่ง ลูกสาวสี่คนของครอบครัวนี้ นอกจากรูปโฉมงามแล้ว จิตใจยังเปี่ยมไปด้วยความเมตตาปราณี รักต้นไม้ ภูเขา รวมถึงสัตว์ป่านานาชนิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้องสาวคนสุดท้องมีความเอ็๋นดูโสวฺงมาวเป็นพิเศษ ทุกครั้งที่เธอต้อนฝูงแกะเข้าไปเลี้ยงตามทุ่งในหุบเขา หมีแพนด้าจึงมักออกมาเล่นเป็นเพื่อนอยู่เสมอ จนบางครั้งมองดูกลมกลืนไปกับฝูงแกะเพราะกาลครั้งนั้นโสวฺงมาวเป็นสัตว์ที่มีขนสีขาวปลอดตลอดทั้งตัว

กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่หมีแพนด้ากำลังเพลิดเพลินอยู่กับการกินใบไผ่ก็ปรากฏร่างนายพรานซุ่มตัวอยู่ในดงและขึ้นธนูหมายยิงมาถึงตัว แต่ก่อนที่ศรจะยิงมาถึงตัว น้องสาวคนสุดท้องผ่านมาพบเหตุการณ์จึงวิ่งเข้าขวางแล้วโดนลูกธนูนั้นยิงแทน

พอพี่สาวทั้งสามคนได้ข่าวว่าน้องสาวถูกธนูยิงตายจึงตรอมใจตายตาม โสวฺงมาวจากทุกแห่งหนต่างเดินทางมาร่วมงานเผาศพที่ชาวบ้านจัดให้สีสาวตามประเพณี แม้งานจะผ่านไปหลายวันแต่บรรดาหมีแพนด้าก็ยังห้อมล้อมกอดกองเถ้าถ่านจนแขนขาเปื้อนเป็นสีดำ มือที่เปื้อนเถ้ายกขึ้นเช็ดน้ำตาก็ทำให้ขอบตาดำไปด้วย พอยกมือขึ้นปิดหูเพราะทนเสียงร้องไห้ไม่ได้ ก็ทำให้สีดำติดใบหูไปอีก นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา แพนด้าจึงมีใบหู เบ้าตา แขน ขา เป็นสีดำสนิท ส่วนสถานที่ที่เผาศพหญิงสาวทั้งสี่ก็พลันเกิดยอดเขาขึ้นสี่ยอด เรีกยขานกันว่า "ซื่อกูเหนียงซาน" หรือ "ยอดเขาสี่ดรุณี"

แต่กว่าชาวโลกจะรู้จักหมีชนิดนี้ก็ล่วงเข้าไปถึงปีพ.ศ. ๒๔๑๒ เมื่อ ปิแอร์ อาร์มัน เดวิด หมอสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส เขาได้เดินทางจากกรุงเป่ยจิงไปเมืองเฉิงตู และได้พบหนังสัตว์ผืนหนึ่ง ที่มีสีขาวทั่วทั้งผืน ยกเว้นแต่ส่วนแขน ขาที่เป็นสีดำ และเขายังได้พบซากสัตว์ชนิดนี้อีก และเชื่อกันว่าเขาจ้างนายพรานในแถบนี้ให้จับสัตว์ชนิดนี้มาให้ ซึ่งเขาเชื่อว่ามันเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในสกุลของ "หมี"

ปิแอร์ อารมัน เดวิด ได้ส่งซากตัวอย่างพร้อมกระดูก กะโหลก กลับไปพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติในกรุงปารีส และใน พ.ศ. ๒๔๑๓ อ้ัลฟองเซ มิเลเน เอ็ดเวิร์ดส์ ได้ทำการทดสอบซากโสวฺงมาวแล้วพบว่า แม้จะมีสรีระภายนอกคล้ายหมี แต่อวัยวะภายในแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แต่คล้ายแพนด้าแดง (Red Panda) มากกว่า เขาจึงสรุปชื่อของแพนด้าว่า Ailuropoda melanoleuca เอลูโรโพด้า เมลาโนลูคา ซึ่งหมายถึง "สัตว์อุ้งเท้าขาว-ดำ คล้ายแพนด้า" และเรียกชื่ออังกฤษว่า "แพนด้ายักษ์" (Gigant Panda)

ในช่วงแรกๆ ชาวตะวันตกรู้จักแพนด้าด้วยการที่มีนายพราน แอบลักลอบนำสัตว์ชนิดนี้ออกจากจีนไปเร่แสดงในละครสัตว์ แล้วจับส่งสวนสัตว์โดยผิดกฏหมาย โดยเฉพาะในช่วงที่จีนอยู่ในยุคระส่ำระสายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้ต่อมาเมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ก็ยังมีการลักลอบจับแพนด้าอยู่ รวมถึงป่าที่อยู่อาศัยหายไป จึงทำให้แพนด้าลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก




ปัจจุบันจีนใช้แพนด้าเป็นเสมือนฑูตสันถวไมตรี และได้ส่งแพนด้าไปอยู่ตามสวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก แต่ก็มีจำนวนน้อยไม่ถึง ๔๐ ตัวทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแพนด้าถึงสองตัว ทั้งยังให้กำเนิดแพนด้าน้อยขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้ด้วย โดยหลังจากจัดการประกวดตั้งชื่อและให้ประชาชนร่วมโหวต หมีแพนด้าน้อยที่เกิดขึ้นจากการผสมเทียมในเมืองไทย จึงได้ชื่อว่า "หลินปิง" ซึ่งคำว่า "หลิน"มาจากชื่อแม่ "หลินฮุ่ย" ส่วน "ปิง" มาจากแม่น้ำปิง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจ. เชียงใหม่ นั่นเอง




แพนด้า (Giant Panda / Ailuropoda melanoleuca)




หมีแพนด้า มีขนบนลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีขาว เว้นแต่บริเวณรอบดวงตา จมูก หู ขาหน้าจนถึงไหล่ ขาหลังและเท้า เป็นสีดำ แม้ว่ามันจะมีระบบย่อยอาหารแบบสัตว์กินเนื้อ แต่ได้วิวัฒนาการมาเป็นสัตว์กินพืช โดยกินใบไผ่และลำไผ่เป็นอาหาร และเพราะไผ่มีสารอาหารน้อย มันจึงต้องกินไผ่วันละ ๑๒-๑๕กิโล ใช้เวลากินถึง ๑๔ ชั่วโมงต่อวัน




ครั้งหนึ่งเคยพบแพนด้าได้ทั่วไปทางตอนใต้และตะวันออกของประเทศจีน พม่า และเวียดนาม แต่ปัจจุบัน เหลือแพนต้าอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ พันตัวเท่านั้น และทั้งหมดพบอยู่เฉพาะป่าไผ่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน




แพนด้าอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เพราะป่าไผ่อันเป็นที่อยู่อาศัยของมันถูกทำลาย ปัจจุบันมีแพนด้าเหลือรอดเฉพาะในเขตอนุรักษ์ ๑๓ แห่ง ในพื้นที่ ๖,๐๙๙ ตารางกิโลเมตร